วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

อานิสงส์ของการสร้างอุโบสถ

อานิสงส์ของการสร้างอุโบสถ
1 อุโบสถเป็นชื่อของธรรม หมายถึงธรรมที่ควรรักษาได้แก่ศีล ๘ เป็นชื่อของที่ หมายถึงสถานที่รักษาความสามัคคีของพระสงฆ์

2 มีมาแต่ครั้งพระพุทธเจ้า ทรงมอบอำนาจให้พระสงฆ์เป็นใหญ่ในการบริหารพระพุทธศาสนาแทนพระองค์ เมื่อกิจของสงฆ์เกิดขึ้น ให้สงฆ์พร้อมเพรียงกันทำกิจชนิดนั้น เรียกว่า “สังฆกรรม” ต้องทำในเขตสามัคคีที่กำหนดไว้ ซึ่งเรียกว่า “สีมา” แปลว่า แดนสามัคคี ต้องปลูกโรงภายในสีมาเพื่อเป็นที่อาศัยทำสังฆกรรม โรงนั้นแหละเรียกว่า “โรงอุโบสถ”

3 สังฆกรรมที่ทรงบัญญัติให้ทำในโรงอุโบสถ เช่น การบวชนาค (อุปสมปทกรรม) การสวดปาฏิโมกข์ (อุโบสถกรรม) การปวารณา (ปวารณากรรม) การมอบผ้ากฐินแก่องค์ครอง (กฐินกรรม)

4 พระสงฆ์ต้องเกิดในโรงอุโบสถ คือ ในสีมาจึงสำเร็จเป็นสงฆ์ จะเกิดในที่อื่นไม่ได้ ไม่สำเร็จเป็นพระสงฆ์สร้างอุโบสถจึงเท่ากับการสร้างที่เกิดของสงฆ์ เพื่อเป็นศาสนทายาทผู้สืบอายพระพุทธศาสนา

5 ผู้บวชเป็นพระสงฆ์ชื่อว่า พรหมจารี แปลว่า ผู้ประพฤติเหมือนพรหม คือเป็นคนไม่มีคู่(ภรรยา) สร้างอุโบสถจึงเท่ากับสร้างวิมานสำหรับพรหมเกิด

6 ผู้บวชเป็นพระสงฆ์ชื่อว่าตั้งใจเป็นคนดีเพราะต้องปรับปรุงตัวให้อยู่ในขอบเขตของพระวินัยสร้างอุโบสถจึงเท่ากับสร้างสถานที่สำหรับเพราะคนดี

7 ถ้าไม่มีโรงอุโบสถคือสีมาก็บวชเป็นพระสงฆ์ไม่ได้ เมื่อขาดพระสงฆ์ ศาสนาก็จะไม่มีผู้รักษา โลกก็จะขาดพหรมผู้คอยแผ่พรหมวิหาร คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ให้โลกร่มเย็นเป็นสุข ขาดสถานที่เพราะคนดีที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่ง

8 จะสร้างอุโบสถให้สำเร็จได้ต้องมีอธิษฐานธรรม ๔ ประการ คือ ๑. ปัญญา พิจารณาเล็งเห็นโทษของโลภะ ๒. สัจจะ คือ การกระทำจริง พูดจริง ใจจริง ๓. สละสิ่งที่เป็นข้าสึกแก่ความจริง สิ่งที่จะขัดขวางการบริจาคและการก่อสร้าง ๔. อุปสมะ สงบใจไม่ยอมให้อะไรมาทำให้กระวนกระวาย จนกลายเป็นไม่จริง เกิดความท้อถอยไปเสีย

9 ผู้มีศรัทธาแต่ว่ายากจนไม่มีทรัพย์จะบริจาค ก็พึงบริจาคแรช่วยเหลือ

10 การสร้างอุโบสถเป็นสังฆทาน เพราะสร้างถวายสงฆ์ มีอานิสงส์มาก
11 เทวดาองค์หนึ่งมาถามปัญหาพระพุทธเจ้าว่า โก จ สพฺพทโท โหติ ตํ เม อกฺขาหิ ปุจฺฉิโต แปลว่า ใครชื่อว่าให้ทานทุกชนิด ข้าพองค์ทูลถามแล้วขอจงตรัสบอกความข้อนั้น พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า โส จ สพฺพทโท โหติ โย ททาติ อุปสฺสยํ คนที่ให้ที่อยู่อาศัยชื่อว่าให้ทานทุกชนิด โรงอุโบสถเป็นที่อยู่ของพระสงฆ์ก็ได้ เป็นที่อาศัยทำสังฆกรรมทุกชนิด ผู้บริจาคทรัพย์สร้างอุโบสถ จึงชื่อว่า ให้ทานทุกชนิด คือให้ตั้งแต่ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ เพราะโรงอุโบสถเป็นที่เจริญอายุ วรรณะ สุขะ พละและปฏิภาณได้

12 พรุทธเจ้าทรงแสดงเสนาสนทาน ไว้ว่า “ เย ททนฺติ อุปสฺสยํ เตสํ ทิวา จะ รตฺโต จะ สทา ปุณฺณํ ปวฑฺติ” แปลความว่า “ผู้ใดให้ที่อยู่อาศัย บุญย่อมเจริญแก่ผู้นั้นตลอดกาลทั้งกลางวันและกลางคืนผู้บริจาคทรัพย์สร้างอุโบสถจึงชื่อว่า บำเพ็ญ “นพัทธกุศล” คือกุศลที่ให้ผลคือ ความสุขกาย สบายใจอยู่เป็นนิตย์ นึกถึงบุญที่เกิดตจากการสร้างอุโบสถเวลาใด รู้สึกกายสุขใจเวลานั้น เพราะเป็นสถานที่มีประโยชน์แก่พระพุทธศาสนามาก โรงอุโบสถยังสำเร็จประโยชน์อยู่ตราบใด ก็ได้บุญอยู่ตราบนั้น ถ้าพระสงฆ์ได้อาศัยอยู่ทุกวันคืน ก็ได้บุญอยู่ทุกวันคืน พระสงฆ์เป็นจำนวนมากตามจำนวนของพระสงฆ์ แม้โรงอุโบสถจะพังจนใช้สังฆกรรมไม่ได้ ถ้าขนเอาส่วนของโรงอุโบสถที่ยังพอใช้ได้ในการก่อสร้างได้ไปใช้ในการก่อสร้างสิ่งอื่น ก็ยังได้บุญอีกครั้งหนึ่ง เพราะสิ่งที่บริจาคไว้ยังประโยชน์ได้อีก เหมือนปลูกต้นไม้มีผลจะได้ผลตลอดอายุของต้นไม้ ออกผลเมื่อใด ได้ผลเมื่อนั้น ออกผลเท่าใด ได้ผลเท่านั้น ต้นไม้ตายแล้วใช้เป็นกระดานก้อสร้างหรือทำของใช้ได้ ถ้าใช้ไม่ได้ หุงข้าว ต้มแกงได้ ต้นไม้เป็นประโยชน์จนถึงที่สุดเช่นนี้ การสร้างอุโบสถก็เช่นนั้น

13 มีทรัพย์อยู่แม้ไม่บริจาคทำบุญก็ใช้ในทางอื่น เช่น ทางกินทางบำรุงอย่างอื่น บางทีก็ใช้ในทางอบายมุขก็มี ถ้าเห็นคุณของทานบริจาคทำบุญแม้ไม่มาก ทรัพย์ก็จะอยู่กับท่านตลอดไป ทำให้สุขกาย สุขใจในเวลาระลึกถึงเพราะรู้สึกว่า ทรัพย์ที่บริจาคเป็นประโยชน์มาก เช่น บริจาคสร้างอุโบสถแม้เพียง ๑ บาท ทรัพย์นั้นจะอยู่กับโรงอุโบสถนานเท่าอายุของโรงอุโบสถ และอยู่อย่างมีประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา และแก่คนหมู่มากที่ต้องอาศัยโรงอุโบสถกระทำการ เวลาจะตายจะได้เป็นเครื่องระลึกถึงทำให้จิตแจ่มใสนำไปสู่สุคติภูมิได้แล ฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น